วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสร้างสันติภาพที่มีหลากหลายวิธี



            เมื่อมีการกล่าวถึงเรื่องของสันติภาพคนโดยทั่วไปมักจะจินตนาการเห็นภาพของสงครามการสู้รบที่ยาวนานซึ่งต้องมีการยุติการสู้รบ สาเหตุของการสู้รบก็อาจจะเกิดจาก การแย่งชิงพื้นที่ แย่งชิงมวลชน ความไม่เข้าใจกันด้านศาสนาหรือวัฒนธรรม ความต้องการสร้างอิทธิพลเหนือพื้นดิน เหนือน่านฟ้าหรือน่านน้ำก็สุดแท้แต่

            สันติภาพที่กล่าวถึงในที่นี้ มิใช่เป็นสิ่งที่เรามองเพียงแค่กลุ่มคนหรือสังคมใกล้ตัวเราเท่านั้น แต่เรามองไกลออกไปสู่ระดับประเทศ ระดับทวีป ระดับประชาคม ระดับโลก แต่การมองไกลไปจากพื้นที่ของประเทศที่เราอยู่ มันก็ต้องทำให้เรามาคิดพิจารณา พื้นที่ภายในประเทศของตนเสียก่อน เพราะหากเราสามารถบริหารจัดการดำเนินงานด้านการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในประเทศอย่างเกิดผลเป็นระบบและมีแนวทางที่ชัดเจน การสร้างสันติภาพให้ขยายออกไปจากพื้นที่ประเทศของเรา ก็น่าที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากแนวร่วมเพื่อสันติภาพได้เป็นอย่างดี การที่เราจะสร้างแนวร่วมให้เป็นเครือข่ายนักสร้างสันติภาพจึงต้องมองสังคมของเราให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ความสามัคคี ความเสียสละ ความเข้าใจ ความร่วมมือต่าง ๆ นั้น มันมีปัญหาและอุปสรรคที่เป็นช่องว่างอยู่ ณ จุดใด ส่วนหนึ่งที่ยังเป็นช่องว่างของการสร้างสันติภาพก็คือความแตกต่างด้านโอกาสทางการศึกษาในระบบ สังคมกำลังกำหนดให้การศึกษาในระบบตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีมานานหลายสิบปีเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับและยกย่องซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะสังคมจะอยู่ดีมีระเบียบนั้นก็ต้องมีหลักการและระเบียบการของการปฏิบัติเพื่อจะนำไปใช้บริหารจัดการได้อย่างยาวนานของผู้ปฏิบัติในรุ่นต่อ ๆ ไปแต่มีคนในสังคมของนานาประเทศ มิได้ใส่ใจในการศึกษาในระบบ แต่กลับทุ่มเทศึกษาเรียนรู้ตามวิถีธรรมชาติโดยอาศัยการประกอบอาชีพ การสร้างอาชีพ หรือการทำงานเพื่อสังคม ซึ่งเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ ไปสู่กิจกรรมที่ใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นองค์กรทางการพัฒนาช่วยเหลือสังคม และองค์กรทางภาคธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดงาน เกิดอาชีพ และขยายผลในวิธีการปฏิบัติไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีหลายองค์กรที่สามารถขยายได้ไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนพื้นที่ในต่างประเทศทั่วโลก และผู้ที่สร้างวิธีการเหล่านั้นก็คือผู้ที่มีการศึกษานอกระบบ ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นทฤษฎีแห่งการปฏิบัติและมีผลสืบเนื่องให้องค์กรนั้น ๆ กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ ศึกษา หรือวิจัยให้แก่ผู้ที่มีการศึกษาอยู่ในระบบ ดังนั้นเราจึงพอจะมองเห็นว่าความแตกต่างด้านวิธีการศึกษาเรียนรู้ เราจึงไม่ควรนำเอาระบบมาตีกรอบครอบงำ ผู้ที่มีผลงานทางสังคมแต่ด้วยเหตุของความเคยชินทางทางสังคมที่มองว่า ผู้ซึ่งได้ผ่านการศึกษาอบรมในระบบเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเป็นผู้ที่รู้จริง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปโดยเฉพาะความรู้ด้านการตลาด ด้านสื่อมวลชน ด้านสังคมศึกษา ด้านการพัฒนาสังคม ด้านปรัชญา ด้านมนุษย์วิทยา ด้านศิลปะการแสดง เว้นแต่ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านการแพทย์ ด้านเภสัช ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการทหารและตำรวจ ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยการศึกษาในระบบที่จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานอย่างชัดเจน

            การศึกษาตามวิธีธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติที่ทำให้คนดี คนมีประสบการณ์ คนมีความสามารถ แต่ไม่มีเอกสารการศึกษาในระบบมารองรับ แต่สามารถยืนหยัดสร้างคุณค่าแก่สังคมและประเทศชาติอย่างมั่งคง คนเหล่านั้นมิได้จำเป็นที่จะต้องนำเอกสารรับรองการศึกษาเพื่อไปหางานทำ หรือใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆ ต่อหน่วยงานราชการอีกแล้ว เพราะว่าความจริงของชีวิตในปัจจุบันมีความเป็นอยู่ดีเหนือกว่าที่จะใช้เอกสารทางวิชาการซึ่งเป็นเอกสารการศึกษาในระบบมาใช้ แต่จะมีใคร จะมีสถาบันการศึกษาที่อยู่ในระบบใดกล้าใช้สถาบันของตนที่มีเป้าหมายทางธุรกิจของธุรกิจการศึกษาในระบบมารองรับปรับให้เป็น “ปริญญาชีวิต” แก่บุคคลเหล่านั้น ซึ่งทำได้ไม่ง่ายเลยเพราะทุกอย่างต้องมีขั้นตอน มีระบบ...มีมาตรฐาน

            คนทำดี คนมีคุณค่าสังคม คนมีภูมิปัญญาธรรมชาติ คนที่เป็นผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เป็นที่ยกย่องเคารพนับถือของผู้คนมากมายแต่ไม่มีวุฒิทางการศึกษาในระบบ เขาเหล่านั้นก็ต้องอยู่อย่างสงบ ต้องปฏิเสธความจริงของชีวิตอันทรงคุณค่าต่อสังคมเพราะถูก...ความเคยชินทางสังคมที่เป็นการศึกษาในระบบเดิมตีกรอบครอบงำ ทำให้คิดว่าถ้าของจริงแล้วต้องเป็นแบบนี้ สถาบันชื่อนี้ถึงจะใช่ ถึงจะถูกต้อง ถึงจะเข้มข้นกว่าและแล้วสังคมก็ขาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีมีคุณค่า เพราะเขาเหล่านั้นคิดว่าตนเองไม่มีค่าอะไรมากมายนัก แต่ถ้าหากจะให้สถาบันระบบหลักๆ ยกย่องส่งเสริมคุณค่า มีวุฒิการศึกษา (กิตติมศักดิ์) นำหน้าก็ต้องจ่ายเงินหลักล้าน หลาย ๆ ล้าน...คนที่จ่ายเงินได้ในระดับหลักล้าน หลาย ๆ ล้าน ก็กลายเป็นพวกเศรษฐี มหาเศรษฐี แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร สังคมจะอยู่ได้อย่างสันติและยุติธรรมต้องมีเงินเท่านั้นหรือแล้วถึงจะได้...แล้วคนดีมีคุณค่าที่เขายากจนละ ? แต่ประสบการณ์และการปฏิบัติของเขาสังคมยอมรับว่า เป็นคนดี มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศจริง...แต่ขาดโอกาส เพราะว่า...ราคาแพงเหลือเกินนั่นคือมุมมองหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนซึ่งยังมีอีกหลายมุมมอง เชื่อว่า ท่านทั้งหลายอาจจะมองอะไรได้กว้างกว่านี้

            มหาวิทยาลัยสันติภาพโลก มีเป้าหมายที่จะอุดช่องว่างเพื่อสร้างเครือข่ายของผู้สร้างสันติภาพให้เข้าถึงคนจริง พัฒนาจริง ๆ เป็นแนวทางของการสร้างสันติภาพเข้าใจเขาจริง ของผู้ที่มีแนวความคิดที่ดีเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อช่วยกันเฟ้นหาเพชรในดง เพชรในดิน เพชรในชุมชน เพื่อสถาปนาความดี ความมีคุณค่า ของเขาเหล่านั้นให้เกิดขวัญและกำลังใจและมั่นใจว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของชีวิตของเขาไม่ไร้ค่า...แม้นว่าไม่มีสถาบันในระบบใด ๆ ที่จะมีน้ำใจให้แก่เขาหรือมองไม่เห็นเขา แต่มหาวิทยาลัยสันติภาพโลก ด้วยเครือข่ายของเพชรเม็ดงามจะตามหาเขามาเพื่อร่วมสร้างสันติภาพด้วยกัน

                                                            โดย ศ.(กิตติมศักดิ์) ดร.ศุภณัฐ ดอนจันทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น