วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาที่เป็นธรรมชาติ


การศึกษาที่เป็นธรรมชาติ  คือการศึกษาที่มนุษย์ถนัด ผู้ที่ได้ทำการศึกษาย่อมมีความสุขใครอยากรู้ใครอยากได้มาก็ต้องศึกษาค้นคว้าทดลอง (ลองผิด ลองถูก) ให้มากให้กว้างและให้ลึกและเข้าให้ถึงจะได้เห็นการนำสาระคดีต่างๆ มาให้ได้เห็น ได้ชมกันทางรายการโทรทัศน์อย่างมากมายเกือบจะทุกเรื่องราว ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลงานจากคนชาติตะวันตกและยุโรป ผู้ที่นำเสนอความรู้ที่เป็นธรรมชาติเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่ถูกสังคมในประเทศของเขาตีกรอบครอบเขาไว้ให้อยู่ในสายตาขององค์กรหนึ่งองค์กรใด มีผู้สื่อข่าวอิสระต่างๆ จากต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย เป็นผู้ที่มีความคิด ความกล้า ในการปฏิบัติจนกลายเป็นความรู้ที่เขา เขียนจากสิ่งที่เขาได้พบได้เห็นเป็นเรื่องเป็นราวที่มีอยู่จริงในสังคมนั้นๆ แล้วนำเสนอสู่สังคม โดยผ่านสื่อต่างชาติที่อยู่ในประเทศนั้นๆ แล้ว เช่นเดียวกัน
การศึกษาตามแนวธรรมชาติ ตามแบบที่ตนถนัด มีวิวัฒนาการในแต่ละยุคของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้มีความเจริญก้าวหน้าทุกวินาทีก็ว่าได้ ความรวดเร็ว   ด้านการสื่อสาร ทั้งด้านข่าวสารและความรู้ สามารถส่งถึงกัน หรือ แลกเปลี่ยนโต้ตอบกันได้ภายในเวลาเพียงเสี้ยววินาที การตอบคำถาม การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสนทนาในเรื่องราวต่างๆ ที่มนุษย์มีการสื่อสารถึงกัน ในปัจจุบันถือว่า เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นมาในหลากหลายเหตุการณ์ การสื่อสารสนทนากัน การ ขอคำปรึกษา การค้นหรือสืบเสาะหาคำตอบในสิ่งที่มีความสงสัยจนได้คำตอบที่มีความกระจ่าง อันเนื่องมาจาก การสนทนาที่นับครั้งได้ ไปจนถึงการนับครั้งไม่ถ้วน  หลักการมองและเปรียบเทียบในสิ่งที่เราเห็นกันอย่างคุ้นเคย นั่นก็เป็นอีกประการหนึ่ง ซึ่งเราถือได้ว่าเป็นการศึกษาเรียนรู้ ยังมีอีกหลายวิธีสำหรับ    ผู้มุ่งที่จะหาความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านเครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อสืบค้นหาข้อมูลต่างๆ และเป็นช่องทางในการสื่อสาร เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และความเข้าใจที่ตนประสงค์ ก็คงจะหนีไม่พ้น ในเรื่องของ Social Media หรือ วิธีการอย่างอื่นที่เป็นหลักการคล้ายๆ กัน ยิ่งถ้ามองให้กว้างไกลไปสู่สังคมโลกแล้วยิ่งมีความชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น ว่า...ถ้า แหงนดูฟ้ามนุษย์ปัจจุบันก็จะรู้ได้ทันทีว่า เป็นโลกของการสื่อสารที่ไร้ขอบเขตจำกัด ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาแต่สามารถจินตนาการถึงความเป็นจริงได้เมื่อมองตรงไปข้างหน้าและรอบด้านก็จะเห็นสิ่งแปลกใหม่ ที่เกิดขึ้นและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เมื่อก้มดูผืนดินก็จะเข้าใจได้ว่าเราสามารถทำสิ่งใดได้บ้างบนผืนแผ่นดินนี้ มนุษย์เราจึงเกิดมาและเจริญเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการเรียนรู้โดยธรรมชาติ การนำสิ่งที่เป็นอยู่ในธรรมชาติมาจัดเป็นหมวดหมู่
เพื่อให้ได้ศึกษาเรียนรู้กันอย่างเป็นระบบ จึงเป็นสิ่งที่ดี เมื่อนำสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาจัดหมวดหมู่ เพื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ แล้วกำหนดระดับมาตรฐานของการเรียนรู้ออกมาเป็น ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หรือ จะเป็นเครื่องหมายรับรองความรู้กันในรูปแบบใดก็ตาม ก็จะถูกกำหนดคำนิยาม และ ความหมาย ของการรับรองความรู้กันในแต่ละระดับ แล้วแต่จะกำหนดมูลค่าและความหมายของแต่ละกลุ่มคน หรือ แต่ละวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ได้ว่ามนุษย์จะกำหนดของเขตขอบการศึกษาและความรู้ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ มากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถศึกษาหรือสรุปว่าผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเก่งที่สุด รู้มากที่สุด จะเป็นผู้ที่เก่งจริงหรือรู้จริงทั้งหมด ดังนั้นหากสังคม หลงระดับการศึกษาหลงความรู้ หลงตำแหน่งทางวิชาการ หลงสถาบัน หลงระบบการตีกรอบครอบงำ หลงสัญลักษณ์ ขององค์กรในความเป็นจริงก็น่าจะเปรียบเทียบได้ ดั่งนักเรียนช่างกลต่างสถาบันตีกัน ฆ่ากัน เพียงแต่ว่าในระดับอุดมศึกษาไม่สามารถแสดงออกไปในลักษณะดังกล่าวดุจเด็กนักเรียนเหล่านั้นได้เท่านั้นเอง

            ดังนั้น “ความไม่เหมือน” ความแตกต่างในรูปแบบของการศึกษาหาความรู้ใส่ตัว เพื่อการดำรงชีวิตนั้นเป็นเพียง “ความคิด” ที่ไม่ใช่เกิดเพราะความแตกต่าง แต่เพราะความไม่เข้าใจ เพราะความไม่รู้ ความไม่รู้จักคิด พินิจพิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลนั่นเอง

            สำหรับมหาวิทยาลัยสันติภาพโลก เป็นวิธีการของมนุษย์ที่จะสามารถใฝ่หาความรู้ได้อย่างไร้ขอบเขตจำกัด และไม่จำกัดขอบเขตของวิธีการเรียนรู้ เพียงแต่ให้การสนับสนุนเพิ่มเติม เสริมพลัง ให้เครดิตแห่งความพยายาม และให้ความงดงามแห่งปัญญา ที่สามารถเป็นภาพสะท้อนให้สังคม เห็นคุณค่าของคนที่มิได้ถูก ระบบใดๆ มาหยุดชะงักหรือกักขัง คามจริงที่เป็นคุณค่าแห่งคนที่จะส่งผลดีไปยัง คนใหม่ๆ ในสังคมใหม่ๆ ที่ใครต่อใครไขว่คว้าหา นั่นคือ สังคมแห่งสันติภาพ ของมนุษยชาตินั่นเอง

 

 

ศ. กิตติมศักดิ์ ดร.ศุภณัฐ  ดอนจันทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น